ความรู้เบื้องต้นเรื่องฟัน
มนุษย์ทุกคนจะมีฟันตามธรรมชาติ 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่าฟันน้ำนม ชุดที่สองเรียกว่าฟันแท้
ฟันน้ำนมจะมีขนาดเล็ก สีขาวกว่าฟันแท้ มีจำนวนทั้งสิ้น 20 ซี่ โดยแบ่งเป็นฟันบน 10 ซี่ และฟันล่าง 10 ซี่ มีชื่อเรียกดังนี้
ฟันแท้และฟันน้ำนม จะแบ่งเป็นสองซีก คือซีกด้านขวา และซีกด้านซ้าย ซึ่งจะประกอบไปด้วยฟันที่มีรูปลักษณะเหมือนกันทั้งสองด้าน และมีชื่อเรียกเหมือนกัน แบ่งเป็นด้านซ้ายและด้านขวา
ฟันแท้จะมีขนาดใหญ่ แต่สีเหลืองกว่าฟันน้ำนม มีจำนวนทั้งสิ้น 32 ซี่ โดยแบ่งเป็นฟันบน 16 ซี่ (ด้านขวาบน 8 ซี่ ด้านซ้ายบน 8 ซี่) และฟันล่าง 16 ซี่ (ด้านขวาล่าง 8 ซี่ ด้านซ้ายล่าง 8 ซี่) มีชื่อเรียกดังนี้
หมายเหตุ
เบอร์ของฟัน เป็นหมายเลขที่ทันตแพทย์ใช้เรียกชื่อฟันแต่ละซี่ เป็นรหัส เพื่อใช้บันทึก และสื่อสารกัน โดยแบ่งกันด้านละแปดซี่ ด้านขวาและด้านซ้ายมีเลขนำต่างกัน คือ ด้านขวาบนแทนด้วยเลข 1 ด้านซ้ายบนแทนด้วยเลข 2 ด้านซ้ายล่างแทนด้วยเลข 3 และด้านขวาล่างแทนด้วยเลข 4 (ตามรูปข้างต้น)
ลำดับการขึ้นและหลุดของฟันน้ำนม
ได้แสดงสรุปดังในตาราง
ฟันน้ำนมคู่แรก ที่ขึ้นในช่องปากคือ ฟันตัดซี่กลางล่าง ที่อายุประมาณ 6-8 เดือน และฟันน้ำนมจะขึ้นครบเมื่อเด็กอายุ 2 ปี 10 เดือน ทั้งนี้ ในเด็กแต่ละคน ฟันอาจจะขึ้นที่ช่วงอายุแตกต่างกันไป หากฟันขึ้นช้าไปบ้าง ผู้ปกครองก็ไม่ควรจะกังวลใจมาก แต่หากฟันขึ้นไม่ครบ ท่านก็ควรนำบุตรหลานของท่าน เข้ารับการปรึกษากับทันตแพทย์
ฟันน้ำนมจะหลุดเมื่อเด็กอายุประมาณ 6-7 ปี ทั้งนี้เพราะฟันแท้กำลังจะขึ้นในช่องปาก ฟันแท้จะอยู่ข้างใต้ฟันน้ำนม และจะละลายรากฟันน้ำนม ฟันน้ำนมจะโยกและพร้อมจะหลุด
ลำดับการขึ้นของฟันแท้
ได้แสดงสรุปดังในตาราง
ฟันแท้ซี่แรกที่ขึ้นในช่องปาก คือฟันกรามใหญ่ซี่ที่หนึ่ง ทั้งฟันบนและฟันล่าง โดยฟันซี่ใหญ่นี้จะงอกออกมาด้านหลังฟันน้ำนมซี่สุดท้าย (ไม่ได้ขึ้นมาทดแทนฟันซี่ใดๆ ) ที่อายุประมาณ 6-7 ปี ซึ่งเป็นช่วงใกล้เคียงกับเวลาที่ฟันน้ำนมคู่หน้าล่างจะหลุด โดยฟันนำ้นมฟันตัดซี่กลางล่างจะค่อยๆโผล่ขึ้นมาในช่องปาก
ในช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นช่วงเวลาที่เด็กทุกคนจะมีฟันน้ำนมทยอยหลุดออกจากช่องปาก นับเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่องปาก ในช่วงอายุนี้ เด็กจะยังคงมีฟันแท้และฟันน้ำนมในช่องปาก ระยะนี้จึงเรียกได้ว่า เป็นระยะฟันผสมนั่นเอง
ท่านสามารถใช้ประโยชน์จากการอ่านบทความฉบับนี้ เพื่อเอาไปเปรียบเทียบว่า เด็กตั้งแต่ทารกจนถึง 20 ปี อายุใดควรมีฟันซี่ไหนขึ้นและหลุด เป็นลำดับๆ ไป เพื่อใช้เป็นแนวทางตรวจสอบ หากพบความผิดปกติใดๆ ควรเข้าปรึกษาทันตแพทย์ประจำตัวของท่านนะครับ
แล้วพบกันใหม่ครับ