counters
hisoparty

BEING AN EMPATH IS LIKE SEEING WITH THE SOUL - คุณวสุ สกุลอนันต์

7 months ago

          “แม้เราจะลุ่มหลงในแฟชั่น แต่แปดสิบเปอร์เซ็นเราลุ่มหลงในงาน ซึ่งมันใช้ร่วมกันได้เยอะมากๆ เพราะนำมาปรับ Mood and Tone ของแบรนด์ที่เราดูแลทั้งหมด เมื่อลูกค้ายอมรับได้ นั่นแปลว่าลูกค้าเขาซื้อ Taste ของเรา และแน่นอนว่า เราแฮปปี้ที่ทำแบบร้อยเปอร์เซ็นต์” คำกล่าวจากผู้ก่อตั้งบริษัท Leon Mode บริษัท Marketing 360 องศา ครบวงจร และหากเอ่ยถึงใครสักคนหนึ่งที่เป็นตัวแม่ด้าน Fashion Nista คงปฏิเสธได้ยากว่า เขาคือหนึ่งในท็อปลิสต์นั้น คุณวสุ สกุลอนันต์

          “สำหรับ LEON MODE ปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 แล้วครับ หากย้อนกลับไป ธุรกิจเริ่มแรกและธุรกิจหลักของผมทำเกี่ยวกับประกัน ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์ประกันโดยเฉพาะ แต่ช่วง 10 ปีให้หลังนี้มาบุกเบิกบริษัทของตัวเอง เกี่ยวกับทำการตลาดทั้งหมด เรียกได้ว่าตั้งแต่ Head to Toe ทั้งในเรื่องของ Marketing strategy plan เมื่อได้รู้ว่า Target group ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายของเราหรือ Segment target เราคือใคร แล้วจึงทำ Communication plan หลังจากทำเสร็จต้องนำเอาแพลนทั้งหมดมาทำเป็น Execution plan เพื่อทำให้เกิดขึ้นจริง เช่น Trade marketing นำสินค้าเข้าไปทางช่องทางการขายได้ทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องการกระตุ้นยอดขาย และ Sales campaign ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเป็นตัวเลข Benefit return คืนให้กับตัวแบรนด์ต่างๆ พอทางแบรนด์เริ่ม Build up กันแล้ว เรายังต้องเชื่อมโยงแบรนด์นั้นๆ ไปสู่ความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งทั้งหมดคืองานที่ Leon Mode ดูแลครับ”

การปรับตัวในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมี AI (ปัญญาประดิษฐ์) เข้ามาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก
          “จริงๆ ผมเป็นคนมองเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงที่ AI ยังไม่มา ตั้งแต่เป็น Social network มองเห็นเพราะเราเชื่อเรื่องการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ การส่งสารกัน มันทำให้คนได้เจอกัน ได้เห็นกัน ได้ซื้อขายกัน ได้รู้จักกัน ฉะนั้นพอเข้าในยุคเรื่องของการสื่อสารเปลี่ยนรูปลักษณ์ รูปแบบ รูปภาพ ที่มีการสื่อสารกันตลอดเวลา คนที่ทำเรื่องการตลาด จึงต้องพยายามมากขึ้น และต้องใจกว้างที่จะยอมรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงและเรื่องใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา อย่างเช่น ทุกบริษัทตอนช่วงโควิด มีผลกระทบทำให้ช่องทางการขายของแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลตายหมด จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เราต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วจึงเป็นที่มาของการทำไลฟ์สด คือเรานำเอาสินค้าของแบรนด์ลูกค้ามาทำทั้งหมด เพราะไม่มีช่องทางการขาย มันจึงกลายเป็นเพิ่มช่องทางความสามารถ แล้วความสามารถตรงจุดนี้มันค่อยๆ พัฒนามาจากทักษะ ทักษะมันพัฒนามาจากการทำซ้ำบ่อยๆ พอเราทำบ่อยๆ จากเหตุการณ์ที่มันบังคับโดยอัตโนมัติเพราะเราต้องกระโดดไปเพื่อให้ลูกค้าได้ยอดขายรีเทิร์นกลับมา จนปัจจุบันนี้เรารู้สึกสนุกกับการทำไลฟ์สดมาก ถือเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งสำหรับการทำ Communication sales ฉะนั้นแพตเทิร์นการ Communication ยุคปัจจุบันมันเปลี่ยนไปโดย Totally 100% เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
          ซึ่งยุคสมัยที่ผมเรียนจบการตลาดใหม่ๆ และทำงานประกัน มันเป็นแพลตฟอร์มของ Sales อย่างเดียว พอมาถึงยุคปัจจุบัน เรื่องการทำการตลาดมีเพิ่มใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา สมัยก่อนไม่เคยมีเลยนะเรื่องคำว่า Snapshot attraction อาทิ เราจัด Event on ground เราต้องการ KPI จาก Snapshot attraction คือเหมือนค่าสื่อจากการ Snap จากแฟนคลับดาราหรือคนรอบข้างที่มาเห็น Event on ground แล้วพวกเขามา Snap เพื่อไปแชร์ต่อ มันเกิด Value ขึ้น ที่เรียกว่า Media value on eyeball ของคนในออนไลน์ ซึ่งสมัยก่อนไม่มีเลย คำพวกนี้มันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แล้วผมยังเชื่อว่าจะมีศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในยุคปัจจุบันนี้เราจึงต้องสำรวจเรื่องสินค้าของเราว่ามันจะไปสู่ Target segment อะไรบ้าง เพื่อแบ่ง Target segment เพื่อสำรวจพฤติกรรมของคน อย่างเช่น กลุ่ม HENRY จะเป็นชื่อเรียกของพฤติกรรมของคนกลุ่มๆ หนึ่ง ย่อมาจาก High Earning, Not Rich Yet ความหมายของมันคือ กลุ่มที่หาเงินเก่ง จับจ่ายใช้สอยเก่ง กลุ่มนี้เขาจะอยู่ในสังคมโซเชียลเกือบทั้งหมด เขาจะชอบแชร์ ชอบบอกกล่าว ประมาณว่าเป็นกลุ่มที่ซื้อเพราะของมันต้องมี ฉะนั้นสินค้า Luxury หรือสินค้าที่ต้องการให้คนกลุ่มนี้แชร์ จึงเข้ามามีอิทธิพล เพราะมันเป็นยุคของสินค้า Super brand ทั้งหมด เมื่อเกิดการแชร์มากขึ้น Eyeball มันเกิด Attractive ขึ้น มันจึงเกิดเป็น Value ของมีเดียอย่างมหาศาล ดังนั้นงานของผมคือทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม Target group ของเราด้วยครับ”

การบริหารงานในแบบฉบับของคุณ
          “ในแง่ของลูกค้า แน่นอนว่าเราจะต้องเจอกับปัญหาและต้องปรับกันตลอดอยู่แล้ว ทำงานเยอะปัญหาก็เยอะ แต่เรามองว่าปัญหานั้นนำมาซึ่งโอกาสในแต่ละเรื่อง กลายเป็นว่าเราจึงสนุกกับการหาโอกาสซึ่งมาจากปัญหา เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลย แน่นอนมันจะไม่เห็นปัญหาไม่เห็นโอกาส เรารู้สึกว่าการทำงานคือการเปิดโลก แล้วยังชอบทำแบรนด์สินค้าที่แตกต่างกันออกไป เพราะแบรนด์ต่างๆ ที่เขามาให้เราดูแล เขาดึงเราเข้าไปอยู่ในโลกของเขาทั้งหมด เราได้เรียนรู้ไปกับโลกของเขา ฉะนั้นหากเรามีอยู่ 5 แบรนด์ แสดงว่าเราจะมี 5 โลกใหม่ให้ได้ค้นหา เรารู้สึกสนุก ซึ่งโดยส่วนตัวเราจะชอบเรื่องใหม่ๆ อยู่แล้วตลอดเวลา สำหรับคนในออฟฟิศ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ LEON MODE จะต้องขยายทีมงาน เพื่อ Subsidize งานที่เข้ามา เรากับลูกน้องจะอยู่กันเหมือนครอบครัวมากๆ เราแคร์เขา แคร์เขาทุกเรื่อง แม้เราจะเป็นคนโวยวาย แต่เราเป็นคนแคร์คน เวลาที่มีลูกน้องขอลาออก เราจะรู้สึกเหมือนเลิกกับสามีเลย จะเฮิร์ทมากเวลาลูกน้องออก เพราะเราเป็นคนผูกติดกับลูกน้องมาก ทุกคนที่มาอยู่ที่นี่ เรารู้สึกผูกพันและให้ความสำคัญทั้งหมด”

นึกถึงแฟชั่น นึกถึง Vasu Sakulanunt รู้สึกอย่างไรกับคำนี้
          “หากย้อนกลับไปเราเป็นคนชอบแต่งบ้าน ชอบ Product design ซึ่งระหว่าง Super brand product design กับ Super brand ของเสื้อผ้า โลกของเขาจะไม่เหมือนกันเลยนะ ฉะนั้นคนที่บ้า Super brand ที่เป็น Product design เราจะรู้ว่าดีไซเนอร์ชื่ออะไร อย่างตอนนั้นเราเริ่มต้นจากชอบงานของ Andy Warhol เก้าอี้ที่เขาดีไซน์ เราชอบทั้งหมด ซึ่ง Andy Warhol เขาดังมาจากภาพ Marilyn Monroe ที่เป็นสีสดๆ สไตล์การ Drawing เขาเป็นแบบนั้น งานเฟอร์นิเจอร์เขาก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เป็นพวกยุคปี 70 อย่างนั้น นอกจากนี้ยังชอบงานของ Arne. Jacobsen เขาออกแบบแนวร่วมสมัยที่เป็นเก้าอี้ไข่ Egg chair และ Swan chair เราเป็นคนชอบงาน Product design มาก เก้าอี้ออฟฟิศทุกตัวเป็น Super brand ของดีไซเนอร์ทั้งหมด แล้วจึงเริ่มมาชอบแต่งตัว เริ่มต้นจากชอบ Comme des Garçons อันนี้คือแต่งตัวบ้าเลือดไปเลย ส่วนช่วงนี้กลับมา เริ่มหลงรัก Balenciaga ซึ่งเขามีความสตรีทมากขึ้น ถ้าเป็นแนวสีสันจัดจ้านชอบ Gucci เพราะว่ายุคก่อนหน้านี้ทางดีไซเนอร์คนเก่า Alessandro Michieletto เป็นคนที่ออกแบบแบรนด์ Gucci ให้ดูเป็นแฟชั่นปี 70 ปี 80 เป็นแนวสีสันซึ่งมันไม่ควรไปด้วยกันได้ แต่ Alessandro Michieletto เอามา Blend ให้มันเข้าด้วยกันได้หมด ถ้าหากเป็นขาวดำ แน่นอนว่าต้องเป็น Balenciaga และอีกแบรนด์ที่ชอบ ที่ออกไปในทางดาร์กไซด์ Underground ต้องเป็น Rick Owens ซึ่งในเชิงแฟชั่นเรามีโอกาสไปร่วมดูแฟชั่นโชว์บ้าง โดยไปร่วมของแบรนด์ Balenciaga 4 ครั้ง ที่ปารีส ไป Gucci 2 ครั้ง ที่จัดขึ้นที่มิลาน Dolce & Gabbana ที่มิลานมา 2 ครั้งเช่นกัน และได้ไปดูของ Valentino มาหนึ่งครั้งครับ”

Photo By : Veeraphol
Author By : Aunnkanta.Her

SHARE