4. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้งนอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) เป็นเครือข่ายของหัวใจและหลอดเลือดขนาดต่างๆ มีหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย เลือด สารอาหาร ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์และฮอร์โมน เข้าและออกจากเซลล์ หากไม่มีระบบนี้ ร่างกายจะไม่สามารถต่อสู้กับโรคหรือไม่สามารถรักษาสภาพร่างกาย (Homeostasis) เพื่อดำเนินชีวิตอยู่ได้ ความผิดปกติของระบบหมุนเวียนเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์จากหลอดเลือดสมองตีบ แตกหรือตัน เป็นต้น
5. ระบบหายใจ (Respiratory System) ทำหน้าที่รับออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์จากภายใน ออกมาขับทิ้งสู่ภายนอกร่างกาย โดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นตัวกลางในการลำเลียงแก๊ส ในขณะที่หายใจเข้า อากาศที่มีออกซิเจนจะไหลผ่านทางเดินหายใจส่วนบน เข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่บริเวณถุงลมปอด ออกซิเจนจากถุงลมปอดจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยรอบๆ ถุงลมปอด และรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (Haemoglobin; Hb) ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง (Red blood cell) กลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิล (Oxyhemoglobin; HbO2) ซึ่งมีสีแดงสด โดยเลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดผ่านหลอดเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย ที่เนื้อเยื่อ ออกซีฮีโมโกลบินจะสลายให้ออกซิเจนและฮีโมโกลบินโดยออกซิเจนจะแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เนื้อเยื่อ และถูกนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่อไป ในทางกลับกัน คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเผาผลาญ ก็จะแพร่จากเนื้อเยื่อเข้าสู่หลอดเลือดฝอย โดยผ่านขั้นตอนทางเคมีระหว่างการเดินทาง โดยเมื่อถึงบริเวณถุงลมปอด คาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่จากเส้นเลือดฝอยจะแพร่เข้าสู่ถุงลมปอด และถูกขับออกจากร่างกาย ผ่านการหายใจออก
โรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดโคโรน่า โรคหืดหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด
6. ระบบประสาท (Nervous System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
ระบบประสาท ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง(central nervous system หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังและระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก (Peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และ ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วย รับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฏิบัติงาน
ถ้าระบบประสาททำงานผิดปกติสามารถเกิดโรคต่างๆ ดังนี้ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัลไซเมอร์ โรคลมชักหรืออาการวูบ โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ และพาร์กินสัน ปวดแสบปวดร้อน จากเส้นประสาทอักเสบ ภาวะการนอนผิดปกติ โรคของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคของเส้นประสาท เช่น ชามือ ชาเท้า โรคปลอกประสาทอักเสบ
7. ระบบต่อมต่างๆ (glands System) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการเผาผลาญต่างๆ ในร่างกายประเภทต่อมในร่างกายคน
ประเภทต่อมในร่างกายคน
1) ต่อมมีท่อ (exocrine gland) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วมีท่อลำเลียงออกมาภายนอกได้ เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย
2) ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วไม่มีท่อลำเลียงออกมาภายนอก ต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเฉพาะอย่างเรียกอวัยวะที่ฮอร์โมนไปมีผลเรียกว่า “อวัยวะเป้าหมาย”
โรคระบบต่อมไร้ท่อที่พบบ่อย โรคเบาหวาน โรคของต่อมไทรอยด์ โรคอ้วนที่เกิดจากต่อมทำงานผิดปกติ โรคพีซีโอเอส (PCOS) โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศโรคมะเร็งตับอ่อน โรคออโต้อิมมูนหรือภูมิต้านตนเอง
แล้วพบกันใหม่ครับ
Author By : หมอเฟิร์น และ Dr.C