เทศกาลภาพยนตร์มอสโกในประเทศไทยที่เพิ่งจบสิ้นไป ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์และผลิตผลงานมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการเห็นโอกาสที่จะร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ระหว่างสองประเทศ ถือเป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์มอสโกครั้งแรกของประเทศไทย ที่ทำการจัดทั่วประเทศกว่า 30 จังหวัด ตั้งแต่ในกรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด ซึ่งการจัดฉายภาพยนตร์รัสเซียทั่วเอเชียได้ดำเนินการโดยความร่วมมือของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งรัฐบาลมอสโก หน่วยงานอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์แห่งมอสโก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานนานาประเทศ JMCC โดยตลอดกว่าสองเดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 มีภาพยนตร์ 5 เรื่องที่ทำการฉาย ณ โรงภาพยนตร์เครือ เอสเอฟ ซีเนม่า ทั่วประเทศไทย นับจากการเปิดตัวเทศกาลฯ ด้วยภาพยนตร์เรื่อง The Challenge (ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ) ผลงานเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทำในอวกาศจริง โดยมีตัวแทนจากสำนักงานวัฒนธรรม หน่วยงานเชิงสร้างสรรค์ บริษัทภาพยนตร์ชั้นนำของประเทศไทยและประเทศรัสเซีย บรรดาสื่อมวลชน รวมถึงตัวแทนจากวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย อาทิ นักแสดงและผู้อำนวยการสร้าง เข้าร่วมงานมากมาย
ภาพยนตร์รัสเซียที่ฉายในเทศกาลฯ มีหลากหลายประเภทตั้งแต่แนวดราม่าไปจนถึงแนวไซไฟ อย่างภาพยนตร์เรื่อง The Challenge (ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ) ที่มีผู้มาชมมากมาย อีกทั้งผู้ชมชาวไทยยังให้ความสนใจผลงานภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Upon the Magic Roads (คู่หูผจญภัยในดินแดน มหัศจรรย์) ซึ่งสร้างจากเทพนิยาย และภาพยนตร์ผจญภัยล่าสมบัติเรื่อง Raiders of the Lost Library (จารกรรมรหัสลับห้องสาปสูญ) นอกจากนี้ยังมีผู้ชมชาวไทยอีกมากมายที่สนใจเรื่อง Land of Legends (แผ่นดินมหาวีรบุรุษ) ภาพยนตร์ดราม่าอิงประวัติศาสตร์ และเรื่องสุดท้ายคือ Reversible Reality (ล่าลับโลกลวง) ภาพยนตร์ไซไฟระทึกขวัญ ซึ่งล้วนดึงดูดผู้ชมอย่างมากทั้งในกรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต
นอกจากจะมีการฉายภาพยนตร์แล้ว ยังมีการประชุมทางธุรกิจในเทศกาลภาพยนตร์มอสโกระหว่างบริษัทอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศไทยและประเทศรัสเซียอีกด้วย ซึ่งเทียบกับปี พ.ศ. 2566 จำนวนบริษัทของประเทศไทยที่เข้าร่วมมีเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมว่าด้วยความสนใจการร่วมมือกันทางธุรกิจก็เพิ่มสูงขึ้น ในเรื่องการใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ การจัดซื้อรูปแบบของการจัดฉาย และการร่วมมือกันอำนวยการผลิตภาพยนตร์เรื่องใหม่ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2565 ความสัมพันธ์ทางด้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ระหว่างมอสโกกับประเทศไทยก็มีปฏิสัมพันธ์กันมาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเทศกาลสัปดาห์งานดีไซน์ในเชียงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2565 ที่มอสโกมีส่วนร่วมในโปรแกรมของ Created in Moscow โดยในปี พ.ศ. 2566 ทางมอสโกได้พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศไทยในด้านธุรกิจและเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเข้าร่วมเทศกาลสัปดาห์งานดีไซน์ของกรุงเทพฯ ระหว่างงานนั้น ทางมอสโกได้นำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งคืองานผ้าแบบ LED ชุดแข่งกีฬาล้ำสมัยกระชับสัดส่วน กระจกแก้วไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีปรับสภาพให้โปร่งใสได้ ตามด้วยระบบตรวจจับวัตถุที่ผ่านการใช้จอสัมผัส และผลงานอีกหลายชิ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น การมีส่วนร่วมของบริษัทจากประเทศรัสเซียในสัปดาห์งานดีไซน์ครั้งนั้นเป็นผลมาจากความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย หน่วยงานอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์แห่งมอสโก และหน่วยงานด้านผู้ประกอบการและนวัตกรรมแห่งมอสโก
และจากการมาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 จึงได้เกิดข้อตกลงกันในการร่วมมือระหว่างมอสโกกับกรุงเทพฯ ในด้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 เทศกาลสัปดาห์งานความคิดสร้างสรรค์ของชาติรัสเซีย ที่มอสโกมีการเปิดตัวซุ้มจัดแสดงของประเทศไทย โดยมีผู้เข้าชมกว่า 5,000 คน ที่มีโอกาสสัมผัสผลงานสุดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีจากประเทศไทยในด้านงานออกแบบ แฟชั่น เครื่องประดับต่างๆ แอนิเมชัน และเทคโนโลยีการศึกษาสุดล้ำเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 งานเทศกาลไทยได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 ณ Hermitage Garden ในมอสโก โดยงานครั้งนั้นมีผู้เข้าชมมากกว่า 120,000 คน และเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม พ.ศ. 2566 มีการจัดเทศกาลงานแสดงเต้นรำและดนตรีนานาชาติครั้งที่ 25 ณ กรุงเทพฯ โดยมีคณะละคร Helikon Opera จากมอสโก มาร่วมแสดงด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นก้าวใหม่ระหว่างสองประเทศ ที่จะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์และผลิตผลงานใหม่ๆ ในอนาคต
Author By : Arunlak