counters
hisoparty

ความหิวโหย...เราควบคุมได้ไหม? Part 1

6 years ago

ในร่างกายเรา ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความหิวนั้นจะมีหลักๆ สามตัวด้วยกันคือ Leptin, Ghrelin และ Neuropeptide

ตัวที่ 1 คือ ‘Leptin’
คือฮอร์โมนที่ทำให้ไขมันในร่างกายเราอยู่ในระดับคงที่ ซึ่งจะผลิตจากไขมันในร่างกายเรา และส่งสัญญาณไปยังสมองเราว่าทานไปกี่แคลอรี่ เวลาเราทานแคอลรี่เท่ากับแคลอรี่ที่เราเผาผลาญ Leptin ก็จะมีปริมาณคงที่ และส่งสัญญาณว่า ‘อิ่มแล้ว’ ไปที่สมองของเรา เพื่อไม่ให้เราทานมากหรือน้อยเกินไป แต่เวลาเราไดเอ็ท Leptin จะมีปริมาณที่น้อยลง และจะไม่ส่งสัญญาณไปที่สมองว่าเราอิ่มแล้ว เพราะมันเป็นธรรมชาติของร่างกายเรา หรือ Survival mode จึงทำให้เรารู้สึกหิว และอยากทานอาหารนั่นเอง Leptin ยังมีผลต่อระบบเผาผลาญ เพราะสามารถคุมการผลิต Thyroid ฮอร์โมนของเราได้ด้วย ดังนั้นการที่สมอง และร่างกายเราตอบสนองต่อ Leptin สำคัญมากครับ เช่น เวลาเราทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทเยอะ ร่างกายจะหลั่ง Insulin และ Leptin มากขึ้น เพื่อที่ Insulin จะดึงน้ำตาลในเลือดมาเก็บในกล้ามเนื้อ หรือเป็นไขมัน และ Leptin ก็จะส่งสัญญาณไปที่สมองเราว่า ‘อิ่มแล้ว หยุดกินได้แล้ว’ แต่บางคนในกรณีที่มี Insulin Resistance ก็จะทำให้น้ำตาลอยู่ในเลือดนานกว่าปกติเพราะไม่มีตัว Insulin มาดึงไป จึงทำให้ลดไขมันยาก และคนที่มี Leptin Resistance จึงทำให้ไม่มีสัญญาณว่า ‘อิ่มแล้ว’ ไปที่สมองเราจึงทำให้เราหิวแล้วทานเยอะตลอด

ตัวที่ 2 คือ ‘Ghrelin’
ฮอร์โมนตัวนี้จะมีปริมาณที่สูง เวลาเราหิว, ทานน้อย หรือก่อนเราทานอาหาร แต่พอเวลาเราได้ทานอาหารเข้าไป หรือเวลาที่เราทานเยอะๆ ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะลดลง ดังนั้นเวลาเราไดเอ็ท มันถึงยากเพราะร่างกายเราจะทำให้เราหิว และต้องกิน

ตัวที่ 3 สุดท้ายคือ ‘Neuropeptide’
เวลาเราไดเอ็ทหรือทานแคลอรี่น้อยๆ ฮอร์โมน Leptin ก็จะลดลง และ Neuropeptide ก็จะเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เรารู้สึกอิ่มช้าลง เลยจะทำให้ทานเพลิน และอาจอ้วนได้ แต่ Leptin จะสามารถช่วยทำให้ร่างกายเราไม่ปล่อย Neuropeptide ออกมามาก และทำให้เราไม่ทานมากจนเกินไป

หลังจากเรารู้จักฮอร์โมนทั้งสามตัวหลักนี้แล้ว เดี๋ยวมาดูกันนะครับว่า ควบคุมมันอย่างไรใน part 2

Reference :
1. Klok MD, Jakobsdottir S, Drent ML. The role of leptin and ghrelin in the regulation of food intake and body weight in humans: a review. Obes Rev. 2007 Jan;8(1):21-34
2. Woods SC. The control of food intake: behavioral versus molecular perspectives. Cell Metab. 2009 Jun;9(6):489-98. Review.
3. Kuo LE, et al, Neuropeptide Y acts directly in the periphery on fat tissue and mediates stress-induced obesity and metabolic syndrome. Nature Medicine. 2007 13, 803-811
4. Taheri S, Lin L, Austin D,Young T, Mignot E (2004) Short sleep duration is associated withreduced leptin, elevated ghrelin,and increased body mass index. PLoS Med 1(3): e62.
5. Spiegel K, Tasali E, Penev P(2004). Brief communication: Sleep curtailment in healthy young men is associated with decreased leptin levels, elevated ghrelin levels and increased hunger and appetite. Annals of internal Medicine. Dec Vol. 141 (11) - 846 – 851
6. Crujeiras AB, Goyenechea E, Abete I, Lage M, Carreira MC, Martínez JA, Casanueva FF. Weight regain after a diet-induced loss is predicted by higher baseline leptin and lower ghrelin plasma levels. J Clin Endocrinol Metab. 2010 Nov;95(11):5037- 44. Epub 2010 Aug 18.

SHARE